ข้อดี ข้อเสียของ OEM และ ODM

ข้อดี ข้อเสีย ของ OEM และ ODM ใครเหมาะแบบไหน อยากรู้ต้องอ่าน!

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เครื่องสำอางหรือยาแผนโบราณ แต่ยังลังเลอยู่ว่าจะสั่งผลิตสินค้ากับโรงงานที่รับผลิตแบบ OEM หรือ ODM ดี? แล้วแบบไหนที่จะเหมาะกับเรา? วันนี้ MEDICOS จึงขอพาทุกคนไปสำรวจข้อดีและข้อเสียของ OEM และ ODM และการผลิตแบบไหนที่จะเหมาะสมกับตัวคุณ แต่ก่อนที่เราจะเริ่มพูดถึงข้อดีข้อเสีย ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการผลิตทั้งสองรูปแบบนี้กันเสียก่อน


สารบัญเนื้อหา


ข้อดีของการผลิตสินค้าแบบ OEM และ ODM

ข้อดี OEM ODM

OEM

  1. สินค้ามีความแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร

    ด้วยบริการของ OEM ที่คุณสามารถนำสูตรของตัวเองมาใช้ หรือจะพัฒนาสูตรเดิมร่วมกับทีมนักวิจัยของโรงงานรับจ้างผลิตเพื่อให้ได้สูตรที่ดีขึ้นไปอีกขั้น ก็สามารถช่วยให้สินค้าของคุณมีความแตกต่างจากคู่แข่งได้ไม่ยาก
  2. มีความคล่องตัวสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ง่าย

    เจ้าของแบรนด์สามารถติดต่อกับโรงงานเพื่อปรับปลี่ยนสูตรสินค้าสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของผู้บริโภคได้ไม่ยาก 

ODM

  1. ผลิตสินค้าได้เร็วกว่า

    การผลิตในรูปแบบ ODM โรงงานจะมีสูตรมาตรฐานของโรงงานกำหนดไว้อยู่แล้ว ทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาขายได้เร็วกว่า ไม่ต้องใช้เวลาในการคิดค้นสูตรใหม่ขึ้นมา
  2. เจ้าของแบรนด์มีหน้าที่แค่ทำการตลาดเท่านั้น

    เจ้าของแบรนด์ที่ผลิตแบบ ODM มีหน้าที่หลักคือการทำการตลาด และดำเนินการขายสินค้าให้ได้เพียงเท่านั้น เพราะขั้นตอนการผลิตทั้งหมดโรงงานจะเป็นคนคอยดูแล รวมไปถึงการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ด้วย

ข้อเสียของการผลิตสินค้าแบบ OEM และ ODM

ข้อเสีย OEM ODM

OEM

  1. ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า

    การผลิตสินค้าแบบ OEM ทางโรงงานต้องใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาสูตร ทำให้เวลาใช้เวลาในการผลิตนานกว่าพอสมควร นอกจากนี้ ถ้าคุณไม่มีสูตรอยู่แล้ว หรือต้องการพัฒนาจากสูตรเดิม อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้อีกด้วย
  2. ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์เอง

    ในการผลิตสินค้าแบบ OEM ทางโรงงานมีเพียงบรรจุภัณฑ์มาตรฐานให้เท่านั้น เพราะฉะนั้นหากคุณต้องการสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า ก็จำเป็นที่จะต้องนำบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการมาเอง

ODM

  1. สินค้าขาดความโดดเด่น

    สินค้าที่ผลิตในรูปแบบ ODM อาจไม่มีจุดเด่นเป็นพิเศษ เพราะสูตรที่ใช้เป็นมาตรฐานของโรงงานที่อาจไปซ้ำกับสินค้าที่มีในตลาดอยู่แล้ว ส่งผลให้สามารถทำการตลาดค่อนข้างยาก แต่ถ้าโรงงานรับผลิตที่คุณติดต่อไปมีสูตรมาตรฐานที่แตกต่างจากโรงงานอื่น ก็จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้
  2. ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสูตรได้

    ด้วยสูตรที่ใช้ในการผลิตแบบ ODM นั้นเป็นสูตรที่กำหนดตายตัวมาจากโรงงานแล้ว ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนจากสูตรเดิมได้

ใครที่เหมาะกับการผลิตสินค้าแบบไหนบ้าง

OEM ODM เหมาะกับใคร

OEM

สำหรับคนที่เหมาะกับการผลิตสินค้ารูปแบบ OEM คือ คนที่มีสูตรการผลิตอยู่แล้ว หรือมีไอเดียอยากพัฒนาสูตรใหม่เพื่อให้มีสินค้าที่โดดเด่นแตกต่างจากเจ้าอื่น

นอกจากนี้ผู้ที่มีไอเดียใหม่ ๆ แต่อยากทดลองตลาดก่อน ไม่ต้องการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก การสั่งผลิตสินค้ากับโรงงานที่รับผลิตแบบ OEM ก็เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์เช่นเดียวกัน

ODM

เมื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียแล้ว การผลิตแบบ ODM เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำแบรนด์ ยังไม่มีความรู้ในเรื่องของสูตร แต่อยากได้สินค้าที่มีมาตรฐาน พร้อมนำออกไปขายได้ในเวลาอันสั้น การผลิตในรูปแบบนี้เหมาะสมกับคุณอย่างแน่นอน


คือคำตอบ เพราะเราให้บริการผลิตสินค้าสมุนไพร สปา และเครื่องสำอางทั้งในแบบ OEM และ ODM สินค้าทุกชิ้นผ่านการผลิตด้วยโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP กำกับดูแลโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ จึงมั่นใจได้ในเรื่องของคุณภาพ อีกทั้งยังมีบริการพัฒนาสูตรใหม่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และบริการขอใบอณุญาต ขึ้นทะเบียนสินค้าทั้ง อย. และยาแผนโบราณ เราพร้อมดูแล และให้คำปรึกษาดั่งครอบครัว เพียง คลิกที่นี่ เพื่อติดต่อเราฟรี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1.Unionsystem. About characteristics of “Cosmetics OEM in Japan” What are the advantages of utilizing one? [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://cosmetics-oem-japan.com/characteristics-cosmetics-oem/ [26 มกราคม 2021]

2.Dave Bryant. OEM & ODM Manufacture. [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://www.freightos.com/import-guide/parts/oem-odm-manufacture/ [26 มกราคม 2021]



This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.