กัญชง

กัญชง – สมุนไพรยอดฮิตของคนสร้างแบรนด์แห่งปี 2565

หลายคนคงทราบกันดีถึงข่าวการปลดล็อก ‘กัญชง’ ที่อนุญาตให้ทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป สามารถทำเรื่องขอปลูกกัญชงได้ทุกวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การแพทย์ หรือการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ยังสามารถนำส่วนประกอบ หรือน้ำมันสกัดจากกัญชงมาแปรรูปสร้างแบรนด์ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมได้อีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชงมีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นอย่างสูง อาจเป็นเพราะความแปลกใหม่ในไทย และสรรพคุณที่มีอย่างล้นเหลือ เพราะฉะนั้น MEDICOS จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ‘กัญชง’ ว่าคืออะไร มีดีอย่างไร และสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย


สารบัญเนื้อหา

กัญชง คืออะไร

กัญชง คือ พืชล้มลุก มีลักษณะคล้ายกัญชา มีสารสำคัญคือ Cannabidiol (CBD) หรือสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวด คลายความกังวล ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ และลดอักเสบ อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอาการมึนเมา ด้วยเหตุผลนี้ทำให้กัญชงสามารถปลูก และแปรรูปนำมาใช้สร้างแบรนด์สินค้าได้อย่างถูกกฎหมาย โดยสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การรับประทานใบ การใช้น้ำมัน CBD (CBD oil) ที่ได้จากใบกัญชง หรือ น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed oil) ซึ่งไม่เป็นสารเสพติดทั้งคู่ โดยน้ำมันสองชนิดนี้ อุดมไปด้วยวิตามิน และกรดไขมันหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โอเมก้า-6 และโอเมก้า-3

กฎหมายว่าอย่างไรบ้าง?

หลังจากที่มีกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำเรื่องขอปลูกกัญชง และนำไปแปรรูปใช้ได้ทุกวัตถุประสงค์ อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าทุกส่วนของต้นกัญชงนั้น “ถูกกฎหมาย” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ได้ระบุไว้ว่า ยาง และช่อดอก ของกัญชงยังคงนับว่าเป็นสารเสพติด แต่ส่วนอื่น ๆ อย่าง เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบที่ไม่มียอดหรือช่อดอก เมล็ดกัญชง สาร CBD ที่มีสาร THC หรือสารที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเสพติดไม่เกิน 0.2% และน้ำมันเมล็ดกัญชง นั้นไม่ใช่สารเสพติดทำให้สามารถนำกัญชงไปสร้างแบรนด์สมุนไพร และเครื่องสำอางได้

นอกจากนี้ บางส่วนของต้นกัญชาก็ได้รับการปลดออกจากสารเสพติดเหมือนกับกัญชง แต่ต่างกันตรงที่เมล็ดของกัญชายังคงเป็นสารเสพติด และประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถขออนุญาตปลูกกัญชาได้ ซึ่งการปลดล็อกครั้งนี้อาจทำให้มีคำถามตามมาว่า “ในเมื่อประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชงได้แล้ว แต่ทำไมยังไม่สามารถปลูกกัญชาได้?” วันนี้เรามีคำตอบ

กัญชงกับกัญชา ต่างกันอย่างไร แล้วทำไมยังไม่สามารถปลูกกัญชาได้

กัญชงและกัญชา ต่างกันอย่างไร


ก่อนอื่นขอคลายข้อสงสัยที่หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ‘กัญชา’ กับ ‘กัญชง’ เป็นต้นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะพืชทั้งสองนี้จัดอยู่ในสกุล Cannabis ทั้งคู่ แตกต่างกันเพียงแค่สายพันธุ์ ทำให้มีหน้าตาที่คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก แต่ก็ยังพอมีลักษณะภายนอกที่สังเกตได้คือใบ โดยใบกัญชงจะมี 7-11 แฉก ส่วนกัญชามี 5-7 แฉก

อย่างไรก็ตาม นอกจากลักษณะภายนอกแล้ว อีกหนึ่งความแตกต่างสำคัญคือ สาร THC ที่สามารถพบในกัญชามากกว่ากัญชง เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้กัญชายังคงเป็นพืชที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถปลูกได้ โดยในแต่ละประเทศก็จะมีข้อกฎหมายกำหนดปริมาณขั้นต่ำของ THC ที่แตกต่างกัน เช่น ในประเทศไทยกำหนดให้มีสาร THC ไม่เกิน 0.2% ต่อน้ำหนักแห้ง ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้มีสาร THC ไว้ไม่เกิน 0.3%

นอกจากนี้การใช้งานพืชทั้งสองชนิดยังแตกต่างกันเล็กน้อย โดยกัญชาจะนิยมใช้ในเชิงสร้างความผ่อนคลาย ส่วนกัญชงจะใช้ทำสิ่งทอ และนำน้ำมันเมล็ดกัญชง หรือสกัดสาร CBD มาสร้างแบรนด์ เช่น เครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร แต่ถ้าเป็นในวงการแพทย์ จะมีการใช้ทั้งกัญชง และกัญชาเป็นยาช่วยบรรเทาผู้ป่วยที่มีอาการปวดของ อาการวิตกกังวล และอื่น ๆ

ผลข้างเคียงของกัญชง

ผลข้างเคียงของกัญชง

ผลข้างเคียงของกัญชงมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ ซึ่งการรับประทานใบ น้ำมันเมล็ดกัญชง หรือน้ำมัน CBD ทั้งหมดนี้อาจส่งผลข้างเคียงในผู้ใช้บางราย เช่น ท้องร่วง หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีอาการเซื่องซึม ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ ส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาภายนอก อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ทั่วไป เช่น บวม คัน และผิวหนังหลุดลอก หากพบอาการเหล่านี้ควรหยุดใช้ทันที

กัญชงทำอะไรได้บ้าง

เมื่อทุกคนได้รู้จักกับกัญชงกันพอสมควรแล้ว เราขอพาไปดูกันต่อว่าเจ้าสมุนไพรชนิดนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างเป็นแบรนด์ของตัวเองได้อย่างไรบ้าง และน่าลงทุนมากแค่ไหน พร้อมแล้วไปดูกันเลย

กัญชงกับอาหารและเครื่องดื่ม

กัญชงสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายวิธี ตั้งแต่การต้มใบดื่มเป็นชา เมล็ดกัญชงใช้โรยบนอาหาร หรือแม้กระทั่งการนำน้ำมันกัญชงมาใช้เป็นน้ำสลัด ซึ่งการรับประทานกัญชงมีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวด และคลายความกังวล นอกจากนี้ยังสามารถนำกัญชงไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดอื่น เช่น นมกัญชง และโปรตีนเสริมจากกัญชง

กัญชงกับสิ่งทอ

หลายคนอาจไม่ทราบว่ากัญชงนั้นสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าห่ม เชือก เสื้อเกราะ ฯลฯ ซึ่งเส้นใยของต้นกัญชงนั้นมีความแข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่น อีกทั้งยังทนความร้อนได้ดี ไม่อับชื้น

กัญชงกับเครื่องสำอาง

อีกหนึ่งวิธีการประยุกต์ใช้กัญชงที่กำลังมาแรง คือการสร้างแบรนด์ด้วยการนำน้ำมัน CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชงไปผสมในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพราะน้ำมันทั้งสองชนิดนี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอักเสบ วิตามิน บีรวม และกรดอะมิโนหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีสรรพคุณช่วยบำรุง และเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว

ถึงแม้ว่าสารสกัดทั้งสองชนิดจะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน แต่น้ำมัน CBD นั้นมีความเข้มข้นมากกว่า อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยชะลอวัย และต้านอักเสบได้ดีกว่าน้ำมันเมล็ดกัญชง ส่งผลให้น้ำมัน CBD มีราคาที่สูงมากกว่าอีกด้วย

อนาคตของผลิตภัณฑ์จากกัญชง

ผลิตภัณฑ์แปรรูปกัญชงนับว่ามีแนวโน้มที่ดีในอนาคต โดยเฉพาะ ‘น้ำมัน CBD’ ที่มีการคาดการณ์ไว้ว่า จะมีมูลค่าสูงถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 เป็นผลมาจากที่หลายประเทศอนุญาตให้ใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย และผู้ใช้เองก็เริ่มมองเห็นประโยชน์หันมาลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารชนิดนี้กันมากยิ่งขึ้น

โดยน้ำมัน CBD สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด สังเกตได้จากหลายแบรนด์ในต่างประเทศเริ่มหันมาใช้น้ำมันเมล็ดกัญชง และน้ำมัน CBD ในผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เซรั่ม ครีมทาหน้า ลิปบาล์ม และครีมกันแดด 

นอกจากนี้กฎหมายที่อนุญาตให้ประชาชนสามารถทำเรื่องขอปลูกกัญชงได้ อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจประเภทนี้ ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 

เมื่ออ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจได้รู้จักกับกัญชงกันมากยิ่งขึ้น ทั้งยังได้ทราบอีกด้วยว่า สมุนไพรชนิดนี้ สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการปวด อาการวิตกกังวล รวมไปถึงการใช้เป็นตัวช่วยบำรุงผิวพรรณได้ดีอีกด้วย และที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์จากกัญชงมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคตทั่วโลก ทำให้การเริ่มสร้างแบรนด์จากกัญชงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว ซึ่ง MEDICOS ก็เป็นอีกโรงงานหนึ่งที่เล็งเห็นโอกาสในการเติบโตจากกัญชง พร้อมทั้งยินดีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชงไปพร้อมคุณ หากคุณสนใจผลิตน้ำมันเมล็ดกัญชง และสารสกัด CBD จากกัญชง สามารถติดต่อปรึกษาเราได้เพียง คลิกที่นี่

 

ด่วน! MEDICOS เปิดให้คุณลงทะเบียนแสดงเจตจำนงค์สั่งซื้อน้ำมันเมล็ดกัญชงได้แล้วที่นี่

คลิกเพื่อลงทะเบียน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/290/T_0033.PDF [15 กุมภาพันธ์ 2021]

2.healthline. CBD Oil vs. HempSeed Oil: How to Know What You’re Paying For [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.healthline.com/health/hemp-vs-cbd-oil [15 กุมภาพันธ์ 2021]

3.The Matter. กัญชา ไม่ใช่ กัญชง พืชทั้ง 2 อย่างต่างกันยังไงบ้าง? [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://thematter.co/quick-bite/marijuana-vs-hemp/ [15 กุมภาพันธ์ 2021]

4.Agricultural Marketing Service, Department of Agriculture (USDA). Establishment of a Domestic Hemp Production Program [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://public-inspection.federalregister.gov/2021-00967.pdf [15 กุมภาพันธ์ 2021]

5.verywellhealth. The Health Benefits of Hemp: Nutritional Advantages of Eating Hemp Seeds and Hempseed Oil [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.verywellhealth.com/hemp-benefits-side-effects-dosage-and-interactions-4767355#:~:text=Possible%20Side%20Effects,-According%20to%20RX&text=Eating%20hemp%20seeds%20is%20not,of%20the%20high%2Dfat%20content. [15 กุมภาพันธ์ 2021]

6.Cutanea. CBD and Skin Care: Everything You Need to Know [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://cutanea.com/cbd-and-skin-care/#:~:text=The%20research%20shows%20that%20CBD,inflammation%20in%20rats%2C%20for%20example. [15 กุมภาพันธ์ 2021]

7.The Zoe Report. What Experts Want You to Know about Putting CBD on Your Face [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://www.thezoereport.com/p/what-to-know-about-cbd-before-putting-it-on-your-skin-according-to-experts-17128564  [15 กุมภาพันธ์ 2021]

8.ประชาชาติธุรกิจ. สธ. อนุมัติปลูก “กัญชง” ได้แล้ว ดีเดย์ 29 ม.ค. 64 [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/marketing/news-603720 [15 กุมภาพันธ์ 2021]

9.Forbes. Everything You Need To Know About CBD Skincare [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://www.forbes.com/sites/nomanazish/2020/12/30/everything-you-need-to-know-about-cbd-skincare/?sh=430eba593abf [15 กุมภาพันธ์ 2021]



This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.