สำหรับใครที่ชอบพกยาหม่อง ใช้ยานวด ต้องคุ้นชื่อของ “ไพล” กันอย่างแน่นอน เพราะเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ มักใช้เป็นส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยที่เราใช้กันเป็นประจำ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากไพลยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเป็นอย่างดี แต่เคยสงสัยไหมว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ “ไพล” ได้รับความนิยมขนาดนี้ เพื่อตอบคำถามคาใจ MEDICOS จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสมุนไพรยอดนิยมตัวนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
สารบัญเนื้อหา
- ไพล คืออะไร
- ไพล มีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
- ไพลกับโอกาสในการสร้างแบรนด์
- อยากสร้างแบรนด์จากไพล มีสินค้าอะไรให้เลือกบ้าง
ไพลคืออะไร
“ไพล” คือพืชล้มลุกที่สามารถนำทุกส่วนไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งยังมีหลายชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาค เช่น ปูขมิ้น ไพลเหลือง ว่านไฟ และว่านปอบ
หน้าตาของไพลถ้าดูเผิน ๆ จะคล้ายกับขมิ้นมาก เพราะพืชสองชนิดนี้เป็นพืชในวงศ์เดียวกันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเหมือนกันจนแถบแยกไม่ออก แต่ก็มีจุดที่พอสังเกตได้ เช่น “สีของเนื้อด้านใน” ถ้าเป็นขมิ้นจะมีสีส้มเข้มชัดเจน ส่วนไพลจะออกไปทางสีเหลืองอ่อนมากกว่า นอกจากนี้สารสำคัญในพืชสองชนิดนี้ก็แตกต่างกันอีกด้วย เพราะฉะนั้นพืชสองชนิดนี้จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้
มีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
แน่นอนว่าสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์มากมาย การันตีด้วยความฮิตตั้งแต่โบราณ สามารถนำไปใช้ได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นส่วนดอกใช้สำหรับลดไข้ ส่วนของลำต้นไพลที่มีสรรพคุณปรับสมดุลภายในร่างกาย รากช่วยแก้เลือดกำเดาไหล และส่วนที่นำมาใช้กันมากที่สุดคือ “เหง้า” ที่จะช่วยลดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ เป็นส่วนที่นำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อแปรรูปเป็นยาหม่องหรือน้ำมันนวดที่เราใช้กันนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่รับรองประโยชน์ของ “ไพล” อีกด้วย เช่น งานวิจัยที่ระบุว่า น้ำมันไพลสกัดประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและกรดสำคัญอื่น ๆ เช่น ฟีนิลบิวทานอยด์ (Phenylbutanoids) ที่สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเลยทีเดียว และยังมีอีกหนึ่งงานวิจัยที่เผยว่า ครีมทาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของไพล สามารถลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย (DOMS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบไพลคุณภาพดีก็จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าอีกด้วย
ไพลกับโอกาสในการสร้างแบรนด์
นอกจากสรรพคุณอันล้นเหลือ ความนิยมอย่างแพร่หลาย และแบรนด์ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ไพลยังเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยเรื่องสมุนไพรประจำปี พ.ศ. 2560-2564 ด้วยเหตุนี้เองทำให้การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดนี้เป็นไอเดียที่ดีมากเลยทีเดียว
อยากสร้างแบรนด์จากไพล มีสินค้าอะไรให้เลือกบ้าง?
ในส่วนนี้เราจะพาคุณไปดูว่าไพลนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์สมุนไพรอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นไอเดียให้คุณสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างแบรนด์
1.น้ำมันไพล
เริ่มกันที่ผลิตภัณฑ์ตัวแรกอย่าง “น้ำมันไพล” หรือที่บางคนเรียกว่า “น้ำมันเหลือง” นิยมใช้ร่วมกับการนวดไทย แต่ถ้าจะนวดเองง่าย ๆ ที่บ้านก็ได้เช่นกัน
2.ยาหม่องไพล
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่อไปที่สามารถใช้ทั้งดมและทาอย่าง “ยาหม่องไพล” มาในรูปแบบที่ใช้ง่ายมากยิ่งขึ้น เพียงหยิบมาทาเมื่อรู้สึกปวดเมื่อย ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการลงไปได้
3.ยาหม่องน้ำไพล
“ยาหม่องน้ำไพล” คล้ายกับยาหม่องไพล มีสรรพคุณและวิธีการใช้งานที่คล้ายกัน เพียงแต่มาในรูปแบบของยาหม่องน้ำเท่านั้นเอง
4.ครีมทาแก้ปวดเมื่อยสมุนไพร
มาถึงผลิตภัณฑ์สุดท้ายอย่าง “ครีมทาแก้ปวดเมื่อยสมุนไพร” พร้อมเอาใจคนออฟฟิศที่นั่งทำงานทั้งวัน ด้วยเนื้อครีมที่มีส่วนผสมของไพล ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่ได้รู้จักไพลกันมากขึ้นแล้ว ทั้งลักษณะ สรรพคุณ และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นสินค้าในแบรนด์ของคุณ MEDICOS เชื่อว่านี่คือโอกาสอันดีที่คุณจะนำไพลมาสร้างรายได้ เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ เป็นของตัวเอง และจะดีที่สุดหากคุณเลือก MEDICOS เป็นผู้ช่วยในการสร้างแบรนด์ เพราะเราคือโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่มีคุณภาพ พร้อมให้บริการผลิตน้ำมันไพล ยาหม่อง ยาหม่องน้ำ และครีมทาแก้ปวดเมื่อยสมุนไพร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นอีกมากมาย นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วยการเติมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่มีให้เลือกกว่า 50 กลิ่น หากสนใจสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของเรา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1.Leelarungrayub J., Manorsoi J., Manorsoi A. Anti-inflammatory activity of niosomes entrapped with Plai oil (Zingiber Cassumunar Roxb.) by therapeutic ultrasound in a rat model [ออนไลน์]. 2017. แหล่งที่มา: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5383072/
2.Klapajone J., Chutarattana N., Lee P. Efficacy of topical plai (Zingiber Cassumunar) cream extract for symptomatic relief of delayed onset muscle soreness [ออนไลน์]. 2017. แหล่งที่มา: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/92736
3.Kaewchoothong A. Preparation and quality control of Zingiber Cassumunar extract with high-yielded anti-inflammatory active compound [ออนไลน์]. 2009. แหล่งที่มา: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/10342/1/345242.pdf
4.กระทรวงสาธารณสุข. แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยเรื่องสมุนไพรประจำปี พ.ศ. 2560-2564 [ออนไลน์]. 2016. แหล่งที่มา: https://www.dtam.moph.go.th/images/download/dl0021/MasterPlan-Thaiherb.pdf