ยุคนี้จะให้ขายของในไทยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ของคุณ ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงการส่งออกเครื่องสำอาง ที่ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 10 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ ใครทำแบรนด์เครื่องสำอางห้ามพลาดโอกาสนี้เด็ดขาด โดย MEDICOS จะพาคุณไปเจาะตลาดเครื่องสำอางของ 3 ประเทศเด่นในแต่ละทวีป และประเทศอื่นที่น่าสนใจ พร้อมอธิบายกฎการนำเข้าคร่าว ๆ จะมีประเทศอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
สารบัญเนื้อหา
- ส่งออกเครื่องสำอางไปประเทศเยอรมนี
- ส่งออกเครื่องสำอางไปประเทศสหรัฐอเมริกา
- ส่งออกเครื่องสำอางไปประเทศจีน
- ตลาดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
1. ส่งออกเครื่องสำอางไปเยอรมนี
เยอรมนี เป็นประเทศที่ใครอยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศบอกเลยว่าห้ามพลาด โดยเฉพาะสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีการคาดการณ์มูลค่าตลาดในปี 2021 ว่าจะสูงถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ใหญ่สุดในชาติยุโรปเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ในรายงานของ Mintel ก็ได้ระบุไว้ด้วยว่า คนเยอรมันช่วงอายุ 16-24 ปีกว่า 40% เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและสะอาด แถมคนเยอรมันก็เริ่มหันมาดูแลผิวพรรณตัวเองจากเทรนด์ทำสปาที่บ้านอีกด้วย
สินค้าที่น่าสนใจจะเป็นจำพวกสกินแคร์ น้ำมันนวดอโรมา และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ล้วนเป็นสินค้าส่งออกที่น่าจับตามอง ทั้งนี้ก็ยังมีประเทศอื่นในสหภาพยุโรปอย่าง ฝรั่งเศส ที่มีตลาดเครื่องสำอางใหญ่ไม่แพ้กัน
กฎการนำเข้าสินค้าของเยอรมนี ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้
1. ไม่ต้อนรับผลิตภัณฑ์ที่ทดลองในสัตว์
ไม่ใช่เพียงแค่เยอรมนีเท่านั้น แต่ทุกประเทศในสมาชิกสหภาพยุโรปได้ต่อต้านสินค้าที่มีการทดลองในสัตว์ เพราะฉะนั้นก็ควรเลือกผลิตเครื่องสำอางกับโรงงานที่ไม่ได้มีการทดลองกับสัตว์จะดีกว่า
2. มีใบรับรอง GMP และปราศจากส่วนผสมที่อาจเป็นอันตราย
GMP เป็นมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการยอมรับ และจำเป็นสำหรับการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของคุณต้องไม่มีส่วนผสมของส่วนผสมที่อาจมีผลอันตรายต่อผู้ใช้งาน โดยสามารถอ้างอิงได้จาก REACH ซึ่งเป็นกฎของกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้รับรองเรื่องความปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารเคมี
3. มีฉลากถูกต้องข้อมูลครบถ้วน
เครื่องสำอางที่ขายในเยอรมนีบนฉลากต้องมีข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน โดยคุณสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาข้อมูลที่ต้องมีบนฉลากได้เลย
2. ส่งออกเครื่องสำอางไปสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกามีตลาดเครื่องสำอางขนาดใหญ่ใหญ่และมีมูลค่าสูงเป็นอันดันต้น ๆ ของโลก นอกจากนี้สายบิวตี้ในอเมริกายังเริ่มหันมาให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสกินแคร์ที่กำลังมาแรงหลังจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยผลสำรวจระบุว่าผู้หญิงอเมริกันกว่า 53% เริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื่นกันมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจก็จะเป็น เซรั่มบำรุงผิว หรือครีมบำรุงผิวหน้า ใครอยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกา ก็นับว่าน่าสนใจเลยทีเดียว
กฎการนำเข้าของสหรัฐอเมริกา ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้
1. ยาและเครื่องสำอางที่มีสีเจือปน ต้องผ่านการรับรองจาก FDA
โดยปกติแล้วการส่งออกเครื่องสำอางทั่วไปไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก FDA (อย. ของสหรัฐอเมริกา) แต่เครื่องสำอางที่มีสรรพคุณบรรเทาและรักษาจะถูกจัดให้เป็นยาและจำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก FDA ก่อนนำออกขาย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ก็จะมี แชมพูขจัดรังแค ยาสีฟัน ลิปบาล์ม และโลชั่นกันแดด สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายเครื่องสำอางได้ที่นี่ หรือเว็บไซต์ของ FDA โดยตรง
2. ได้มาตรฐาน GMP และไม่มีส่วนผสมอันตราย
เครื่องสำอางที่จะส่งเข้าไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกาก็จำเป็นต้องมีมาตรฐาน GMP เช่นกัน นอกจากนี้สินค้าของคุณก็ห้ามใช้ส่วนผสมของสารเคมีบางชนิดที่อาจเป็นอันตราย โดยคุณสามารถเข้าไปดูรายชื่อสารเคมีต้องห้ามที่เว็บไซต์ของ FDA ได้เลย
3. ข้อมูลบนฉลากครบถ้วน ตามกำหนด
สำหรับสหรัฐอเมริกาก็คุมเข้มเรื่องฉลากเช่นกัน โดยคุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งวิธีทำฉลากให้ถูกต้องได้ที่นี่เลย
3. ส่งออกเครื่องสำอางไปจีน
จีน เป็นประเทศที่มีตลาดใหญ่ที่สูสีกับประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับใครที่อยากโกอินเตอร์ ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ซึ่งผลิตภัณฑ์สกินแคร์ก็มีแววมาแรง เพราะจากผลสำรวจพบว่าผู้ทำแบบสอบถาม 25% เริ่มซื้อสกินแคร์เยอะมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ที่คนจีนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับส่วนผสมคุณภาพดี เน้นใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงและซ่อมแซมผิว ถ้าอยากส่งสินค้าไปขายที่จีน ลองเป็นพวกสกินแคร์สูตรธรรมชาติ ตั้งแต่เซรั่มไปจนถึงครีมบำรุง โดยเน้นในเรื่องของคุณภาพส่วนผสม การผลิตให้มีมาตรฐาน ก็มีโอกาสขายได้ดีมากเช่นกัน
กฎการนำเข้าของจีน ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้
1. ผลิตภัณฑ์บางชนิดต้องทดลองกับสัตว์
ก่อนหน้านี้จีนได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ว่า เครื่องสำอางทุกชนิดต้องผ่านการทดลองในสัตว์ก่อนเสมอ แต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปี 2021 นี้เอง ประเทศจีนได้มีการปรับข้อกฎหมายใหม่ให้เครื่องสำอางทั่วไป เช่น น้ำหอม สกินแคร์ ไม่จำเป็นต้องทดลองกับสัตว์ก่อนวางขาย ทว่ายังมีผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ครีมกันแดด ยาย้อมผม หรือผลิตภัณฑ์ลดผมร่วง ที่ยังจำเป็นต้องทดลองกับสัตว์อยู่ นับเป็นกฎข้อสำคัญที่ใครอยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศต้องรู้
2. ต้องได้รับการรับรองจาก CFDA
ก่อนจะส่งสินค้าไปขายในจีน ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการรับรองจาก CFDA (อย. ของจีน) ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบความปลอดภัยและความสะอาดของเครื่องสำอาง คุณสามารถตรวจสอบข้อกำหนด และขั้นตอนการยื่นได้ที่นี่
3. ฉลากต้องพร้อม ถูกต้องตามที่กำหนด
สำหรับฉลากเครื่องสำอางที่จะส่งออกไปขายในจีน จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาจีนให้เรียบร้อย พร้อมระบุข้อมูลให้ครบถ้วน โดยคุณสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาข้อมูลจำเป็นบนฉลากได้เลย
ตลาดอื่น ๆ ที่น่าสนใจสำหรับการส่งออก
นอกจาก 3 ประเทศใหญ่ที่เราได้แนะนำไปแล้ว ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในความตกลงการค้าเสรี (FTA) เช่น อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ที่ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องสำอาง เป็นตัวช่วยให้การส่งออกเครื่องสำอางเติบโตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทดูแลผิวพรรณและเส้นผมที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 3% และผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่พุ่งขึ้นถึง 12% สวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ใครที่อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศก็อย่ามองข้ามประเทศเหล่านี้เด็ดขาด
อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม คือ ความต้องการใช้ยานวดหรือน้ำมันนวดสำหรับคนไทย และร้านนวดไทยในต่างแดนก็เป็นโอกาสอันดีหากจะส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังประเทศที่มีธุรกิจร้านนวดไทยเยอะ ยกตัวอย่างเช่น ออสเตรเลียที่ข้อมูลเมื่อปี 2014 พบว่ามีร้านนวดไทยเปิดกว่า 850 ร้าน และมีแนวโน้มที่ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้สำหรับใครที่มองเห็นโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และสนใจที่จะส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เราขอแนะนำให้คุณใช้บริการกับตัวแทนจัดส่ง หรือติดต่อกับตัวแทนผู้นำเข้าสินค้า และอย่าลืมศึกษากฎหมายของประเทศปลายทาง เพื่อให้สามารถวางขายได้อย่างราบรื่น แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้คือ สินค้าของคุณต้องมีคุณภาพสามารถแข่งกับแบรนด์เจ้าถิ่นได้ ซึ่ง MEDICOS ก็พร้อมพัฒนาสูตรสินค้าเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานส่งออก ผลิตด้วยวัตถุดิบคุณภาพดี ภายใต้โรงงานมาตรฐาน GMP หากคุณสนใจอยากสร้างแบรนด์กับเรา สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อติดต่อปรึกษาได้ทันที!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1. Beauty Business Journal. The Beauty Market In Germany: Challenges & Opportunities [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://beautybusinessjournal.com/the-beauty-market-in-germany-challenges-opportunities/#:~:text=Germany%20is%20one%20of%20Europe’s,(CAGR%202020%2D2023) [13 พฤษภาคม 2021]
2. Statista. Consumer Markets : Beauty & Personal Care [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://www.statista.com/outlook/cmo/beauty-personal-care/germany [13 พฤษภาคม 2021]
3. Mintel. How Covid-19 Will Change Germany’s Beauty and Personal Care Industry [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.mintel.com/blog/covid-19/how-covid-19-will-change-germanys-beauty-and-personal-care-industry [13 พฤษภาคม 2021]
4. Official Journal of The European Union. Regulation (EC) No 1223/2009 of The European Parliament and of The Council of 30 November 2009 on Cosmetic Products [ออนไลน์]. 2009. แหล่งที่มา: https://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2009:342:0059:0209:en:PDF [13 พฤษภาคม 2021]
5. European Chemical Agency. Understanding REACH [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://echa.europa.eu/regulations/reach/understanding-reach [13 พฤษภาคม 2021]
6. U.S. Food & Drug Administration. FDA Authority Over Cosmetics: How Cosmetics Are Not FDA-Approved, but Are FDA- Regulated [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetics-laws-regulations/fda-authority-over-cosmetics-how-cosmetics-are-not-fda-approved-are-fda-regulated [13 พฤษภาคม 2021]
7. USA Customs Clearance. How to Import Cosmetic Products Into the U.S. [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://usacustomsclearance.com/process/how-to-import-cosmetic-products-to-the-us/#Cosmetics_Import_Regulations [13 พฤษภาคม 2021]
8. Beauty Packaging. NPD’s ‘Feel Good Trends’ That Shaped the Beauty Industry This Year [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.beautypackaging.com/contents/view_online-exclusives/2020-11-23/npds-feel-good-trends-that-shaped-the-beauty-industry-this-year/ [13 พฤษภาคม 2021]
9. U.S. Food & Drug Administration. Prohibited & Restricted Ingredients in Cosmetics [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetics-laws-regulations/prohibited-restricted-ingredients-cosmetics#prohibited [13 พฤษภาคม 2021]
10. U.S. Food & Drug Administration.Cosmetics Labeling [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetics-labeling [13 พฤษภาคม 2021]
11. Market Tibits. The Beauty Sector In China Before & After Covid-19 [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://daxueconsulting.com/market-tidbits-transcript-changes-beauty-sector-china-after-coronavirus/ [13 พฤษภาคม 2021]
12. ethical elephant. China’s Animal Testing Laws May 1, 2021 – What You Need To Know! [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://ethicalelephant.com/understanding-china-animal-testing-laws/#:~:text=China%20has%20not%20banned%20or,and%20sold%20in%20their%20country [13 พฤษภาคม 2021]
13.Chemical Inspection & Regulation Service. CFDA Registration of Imported Cosmetics in China – Hygiene License & Record-keeping Certificated [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: http://www.cirs-reach.com/Cosmetics_Registration/China_cosmetics_regulations_registration.html [13 พฤษภาคม 2021]
14. ประชาชาติธุรกิจ. เครื่องสำอางไทยฮอต ขึ้นแท่นส่งออกอันดับ 2 อาเซียน อันดับ 10 ของโลก [ออนไลน์]. 2021. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-651308 [13 พฤษภาคม 2021]
15. The University of Sydney. Thailand in Australia [ออนไลน์]. 2014. แหล่งที่มา: https://www.sydney.edu.au/dam/corporate/documents/sydney-southeast-asia-centre/thailand-in-australia.pdf [13 พฤษภาคม 2021]