ปัญหาการทำธุรกิจ

5 ปัญหาการทำธุรกิจ พร้อมแนวทางแก้ไขที่ผู้ประกอบการควรรู้!

ปัญหาการทำธุรกิจ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่สนใจสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ต้องศึกษา เพื่อวางแผนในการแก้ไขหากเกิดปัญหา เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณให้น้อยที่สุด MEDICOS เลยจะขอพาคุณมาส่องปัญหาการทำธุรกิจเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ จะใช่ปัญหาอย่างที่คุณคิดไว้หรือไม่ ไปดูกันเลย


5 ปัญหาการทำธุรกิจ



1. ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนไป

ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนั้นถือเป็นปัญหาการทำธุรกิจที่สำคัญอย่างมากปัญหาหนึ่งเลยทีเดียว เพราะสิ่งที่จะดำเนินให้ธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณเติบโตได้นั้น คือการซื้อสินค้าของผู้โภค แต่หากความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้นเปลี่ยนไป อาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจได้อย่างมาก เช่น ผู้บริโภคหรือลูกค้าเปลี่ยน Generation ส่งผลให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคุณเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และความต้องการต่าง ๆ ที่ต่างจากกลุ่มลูกค้าที่ผ่านมา 

แนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจในลักษณะนี้ นั่นก็คือการทำ Customer Experience เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์คุณ โดยการทำความเข้าใจลูกค้า ศึกษาความต้องการของลูกค้า เช่น การรับฟังความคิดเห็นลูกค้า สอบถามความพึงพอใจหลังการขาย 

อีกวิธีการหนึ่ง คือการวางแผนการตลาดเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน แทนการวางแผนล่วงหน้าเป็นปี ซึ่งวิธีการนี้เหมาะกับผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ที่มีองค์กรไม่ใหญ่มาก เพราะสามารถจัดการได้เองอย่างรวดเร็วหากการตลาดที่วางไว้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามเทรนด์หรือกระแสนั้นมาเร็วไปเร็ว


2. กระแสของสินค้าตกลง

ปัญหาการทำธุรกิจที่หลาย ๆ แบรนด์นั้นต้องคอยเตรียมรับมืออีกปัญหาหนึ่งนั่นก็คือ ปัญหากระแสของสินค้าที่ตกลง เนื่องจากผู้ประกอบการบางคนเลือกที่จะสร้างแบรนด์จากการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระแสหรือเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น เช่น เครื่องสำอางหรือสกินแคร์ที่ใช้ส่วนผสมจากเมือกหอยทากที่เคยได้รับความนิยมอย่างมากช่วงหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเทรนด์การใช้ส่วนผสมอื่น ๆ ก็ค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ยากขึ้นเพราะกระแสที่ตกลง นี่จึงอาจเป็นปัญหาในการสร้างแบรนด์ที่ผู้ประกอบการต่าง ๆ ควรวางแผนเตรียมรับมือให้ดี

แนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจในลักษณะนี้ นั่นก็คือการวางแผนก่อนที่จะเริ่มผลิตสินค้าเพื่อขาย อย่างการเลือกแนวทางของแบรนด์ตัวเองว่าจะไปในทิศทางไหน สินค้าที่จะขายเหมาะกับการทำธุรกิจตามเทรนด์หรือกระแสในปัจจุบันหรือไม่ หรือหากลงมือขายแล้วแต่สินค้าค้างสต๊อก จะมีวิธีการรับมืออย่างไรได้บ้าง เช่น การจัดโปรโมชันลดราคา เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการแก้ไขปัญหาอาจต้องเลือกให้เหมาะสมกับแบรนด์ของคุณเช่นกัน


3. ถูกคู่แข่งโจมตี

ปัญหาในการถูกคู่แข่งโจมตี ก็ถือว่าเป็นปัญหาการทำธุรกิจที่ยากจะรับมือด้วยเช่นกัน เนื่องจากคุณไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าคู่แข่งจะโจมตีแบรนด์ของคุณในลักษณะไหน และยิ่งกว่านั้นผู้ที่มาโจมตีไม่เปิดเผยตัวว่ามาจากไหนเช่นกัน

การถูกโจมตีจากคู่แข่งอาจเกิดได้หลากหลายวิธี เช่น การปล่อยข้อมูลแง่ลบที่ส่งผลให้แบรนด์ของคุณเสียหายและได้รับผลกระทบตามมา ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลคุณภาพของส่วนผสมที่อาจถูกบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เป็นต้น

แนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจในลักษณะนี้ นั่นก็คือสืบหาผู้ที่โจมตี เพื่อพูดคุยไกล่เกลี่ย ให้ผู้ที่โจมตีแสดงความขอโทษและชี้แจงข้อเท็จจริงผ่านช่องทางที่เป็นทางการ แต่หากไม่สามารถไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันได้ วิธีสุดท้ายอาจต้องถึงขั้นดำเนินการทางกฎหมาย


4. ถูกลอกเลียนแบบ

ปัญหาการถูกลอกเลียนแบบสินค้า เป็นปัญหาในการทำธุรกิจที่ควบคุมยากเช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของคุณขายดีและเป็นที่รู้จักอย่างมากในวงกว้าง การที่ถูกลอกเลียนแบบสินค้าออกมาน่าจะเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

แนวทางการแก้ไขปัญหาธุรกิจในลักษณะนี้ นั่นก็คือการทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าของคุณได้ โดยการทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ของคุณดี โดดเด่นกว่าแบรนด์ไหน ๆ และยากที่จะลอกเลียนแบบ ต้องทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ว่าผลิตภัณฑ์แบรนด์คุณเป็นต้นตำรับ ออริจินอล เป็นผู้เริ่มผลิตรายแรก


5. ถูกขายตัดราคา

มาถึงปัญหาการทำธุรกิจข้อสุดท้าย ก็คือปัญหาการถูกคู่แข่งขายตัดราคา ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณต้องเจอเป็นประจำ เพราะถือเป็นกลยุทธ์การแข่งขันที่ถูกนำมาใช้กันโดยทั่วไป โดยแบรนด์คู่แข่งจะขายสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับแบรนด์ของคุณในราคาที่ถูกลงกว่า เพราะผู้บริโภคจะอ่อนไหวกับเรื่องของราคามากกว่าตัวแบรนด์

แนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจในลักษณะนี้ นั่นก็คือการไม่เข้าไปสู้ในสงครามราคาแบบนี้ คุณไม่จำเป็นต้องลดราคาสินค้าของคุณ เพราะเมื่อสู้กันไปมาอาจจะทำให้ขาดทุนและถึงขั้นต้องปิดกิจการ ซึ่งนี่เป็นผลเสียมากกว่าผลดี สิ่งที่แบรนด์คุณต้องทำ คือการมุ่งมั่นผลิตผลิตภัณฑ์ให้ออกมามีคุณภาพ และคงประสิทธิภาพไว้ดังเดิม รวมถึงการใส่ใจในเรื่องของการบริหาร การให้บริการที่ดีต่อผู้บริโภคเพื่อสร้าง Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยั่งยืนเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าของคุณ

นอกจากปัญหาการทำธุรกิจทั้ง 5 ข้อที่เรานำมาฝาก ยังอาจจะมีปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการรวมถึงผู้ที่กำลังสนใจสร้างแบรนด์จึงควรให้ความสำคัญกับการศึกษาแบรนด์ของตนและวิเคราะห์ พร้อมวางแผนรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อลดความเสียหายต่อแบรนด์ให้น้อยที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องสำอางที่กำลังมองหาบริษัทรับผลิตที่เชี่ยวชาญ และเชื่อถือได้ สามารถเลือกผลิตกับ MEDICOS ได้เช่นกัน เพราะเรามีบริการครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาคุณทุกขั้นตอนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพียงคลิกที่นี่แล้วมาพูดคุยกับเราได้เลย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1. Kanlongthun. (2022, April 29). สรุป 5 ปัญหาคาใจ สร้างแบรนด์สินค้าตัวเองอย่างไร ไม่ให้เจ็บตัว. การลงทุน.net. Retrieved May 24, 2022, from https://xn--12cm2ci1cm3g6b.net/สร้างแบรนด์สินค้าตัวเอ/

2. Molek. (2021, February 1). รวมปัญหาที่บังคับให้แบรนด์คุณต้องเปลี่ยนกลยุทธ์แบรนด์. Marketing Oops! Retrieved May 24, 2022, from https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/9-problem-in-brand-strategy/

3. พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป SME จะรับมืออย่างไร. เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2020, December 9). Retrieved May 24, 2022, from https://www.technologychaoban.com/what-news/article_166423

4. สโรจ เลาหศิริ. (2017, March 29). เมื่อคุณถูกลูกค้าถล่มบนโลกออนไลน์ จะมีวิธีกอบกู้ชื่อเสียงอย่างไร. Positioning Magazine. Retrieved May 24, 2022, from https://positioningmag.com/1120776

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.