คิดกำไรขาดทุน

ห้ามพลาด! แจกวิธีคิดกำไรขาดทุน ก่อนลงมือทำธุรกิจ

วิธีคิดกำไรขาดทุนเป็นสิ่งสำคัญที่คนอยากสร้างแบรนด์ต้องคำนวณก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจ เพราะควรวางแผนว่าจะต้องผลิตสินค้าออกมาเท่าไหร่ถึงจะได้กำไรตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมถึงหากขายไม่ได้ตามเป้าจะขาดทุนเท่าไหร่ แล้วควรจัดการรับมืออย่างไร อีกทั้งยังเกี่ยวโยงไปถึงการตั้งราคาขายของสินค้าว่าหากอยากได้กำไรเท่านี้ ควรตั้งราคาขายเท่าไหร่ วันนี้ MEDICOS จะมาบอกวิธีคิดกำไรขาดทุนสำหรับคนอยากสร้างแบรนด์กัน


สารบัญเนื้อหา



1. กำไรและขาดทุนคืออะไร

ก่อนที่เราจะไปคิดกำไรขาดทุน เราต้องไปทำความรู้จักกันก่อนว่ากำไรและขาดทุนคืออะไร 

กำไร คือ ส่วนต่างของรายได้ และค่าใช้จ่าย หากมีผลเป็นบวก คือได้กำไร แต่หากผลเป็นลบ คือขาดทุน โดยมีสมการง่าย ๆ คือ

รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร หรือ ขาดทุน

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายของแต่ละแบรนด์นั้นอาจแตกต่างกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายมีได้ตั้งแต่ต้นทุนการผลิตสินค้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือหากบางแบรนด์ไม่ได้ขายสินค้าออนไลน์อาจจะต้องเสียค่าเช่าที่เพื่อขาย ซึ่งก่อนที่จะเริ่มสร้างแบรนด์คุณต้องวางแผนให้ละเอียดรอบคอบ


2. วิธีคิดกำไรขาดทุน

การคิดกำไรขาดทุนนั้นตามสมการที่ได้เกริ่นไปในข้อแรก นั่นเป็นเพียงการคิดกำไรเบื้องต้นเพียงเท่านั้น เช่น คุณขายสินค้าในราคา 150 บาท ต้นทุนต่อชิ้นคือ 50 บาท หมายความว่าคุณได้กำไร 100 บาท หากคุณต้องการทำธุรกิจแบบจริงจังคุณต้องคิด “กำไรสุทธิ” นั่นคือสมการดังนี้

รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวม = กำไรสุทธิ

ค่าใช้จ่ายรวม คือผลรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำธุรกิจ เช่น การคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิต ที่ไม่ว่าจะเป็นค่าวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่งต่าง ๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าทำการตลาด ค่าเช่าที่ หรือสำหรับคนที่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะเป็นค่าบริการเพิ่มเติม และที่สำคัญเงินเดือนของเจ้ากิจการ ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวคุณพิจารณาแบ่งสันปันส่วนเอง เช่น ในหนึ่งเดือนแบรนด์ของคุณมีรายได้รวมและค่าใช่จ่ายทั้งหมด ดังนี้

วิธีคิดกำไรขาดทุนแบบนี้ทำให้คุณสามารถนำมาปรับใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ในแต่ละเดือน หรือหากเดือนไหนที่มีรายได้รวมน้อย อาจจะคำนวณหาวิธีลดค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตต่อไปได้เรื่อย ๆ 


3. วิธีตั้งราคาให้ได้กำไร

หลังจากที่คุณได้วางแผนการคิดกำไรขาดทุนแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยนั่นก็คือ การตั้งราคาขายสินค้า หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าการตั้งราคาขายสินค้านั้นมีกฎเกณฑ์หรือวิธีการตั้งอย่างไร แต่ที่จริงแล้วการตั้งราคาขายนั้นไม่ได้มีวิธีการที่ตายตัว เรามี 3 วิธีมาแนะนำที่อาจจะพอเป็นแนวทางให้คุณนำไปปรับใช้กับแบรนด์ของคุณ

3.1 วิธีตั้งราคาขายจากต้นทุน

วิธีนี้เป็นวิธีพื้นฐานที่หลาย ๆ ธุรกิจนิยมใช้กัน คือการตั้งราคาสินค้าให้มากกว่าต้นทุนของสินค้า หรือบวกจำนวนกำไรที่คุณอยากได้เข้าไปกับจำนวนต้นทุนของสินค้า ยกตัวอย่างเช่น หากคุณคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดคร่าว ๆ ออกมาแล้ว และได้เฉลี่ยต้นทุนต่อชิ้นออกมาได้ 50 บาท แต่คุณต้องการกำไร 100 บาท ดังนั้นราคาสินค้าที่คุณต้องขายต่อชิ้นคือ 150 บาท

3.2 วิธีตั้งราคาขายจากตลาด

วิธีนี้คือคุณต้องไปสำรวจราคาของสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของคุณที่ขายทั่วไปตามท้องตลาดหรือช่องทางออนไลน์ เช่น สินค้าของคุณเป็นน้ำดื่ม แบรนด์คู่แข่ง และแบรนด์อื่น ๆ ขายในราคา 10 – 12 บาท แบรนด์คุณอาจจะปรับราคาลงมาเล็กน้อย เช่น ขาย 9 บาท เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาเลือกซื้อสินค้าของคุณ

3.3 วิธีตั้งราคาขายจากลูกค้า

วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณต้องสำรวจและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยการตั้งราคาสินค้าตามความพึงพอใจของลูกค้า หรือราคาที่ลูกค้าต้องการจ่ายหรือจ่ายไหว ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้สินค้าของคุณเข้าถึงลูกค้าได้และดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น 

ทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมานี้คุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง อาจนำทั้ง 3 วิธีมาปรับให้เข้ากับสินค้าของคุณให้มากที่สุด หรืออาจจะตั้งราคาด้วยวิธีอื่นที่คิดว่าเหมาะสมกับสินค้าของคุณนอกเหนือจาก 3 วิธีนี้ได้เช่นเดียวกัน

ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณสนใจสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง หรือเครื่องหอม ที่ MEDICOS มีให้คุณได้เลือกผลิตหลากหลายสูตร และมากับพร้อมบริการจดแจ้งอย. เพียงแค่คุณคลิกที่นี่เพื่อติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1. K SME. (2022, May 15). “ตั้งราคาสินค้า” ยังไงให้ได้กำไรสูงสุด. Facebook. Retrieved May 24, 2022, from https://www.facebook.com/KBankKSME/photos/a.268207958180/10158906268448181/

2. MyShop Team. (2021, May 15). คู่มือวิธีคิดกำไรขาดทุก ที่พ่อค้าแม่ขายต้องอ่าน. MyShop. Retrieved May 24, 2022, from https://lineshoppingseller.com/best-selling-technique/172-how-to-estimate-profit-and-lost-for-seller

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.