พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ

อัปเดต พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่คนทำแบรนด์ต้องรู้

พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมักเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามช่วงเวลาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยช่วงปัจจุบันใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม เพราะในยุคนี้ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถขายสินค้าได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้เกิดการแข่งขันในการขายสินค้ามากขึ้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของคนไทยที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการมาฝากกัน


สารบัญเนื้อหา



1. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

Think with Google : YEAR IN SEARCH 2022 ได้รวบรวมข้อมูลการค้นหาของคนไทยในปี 2022 ที่ผ่านมาไว้มากมาย โดยมีการรายงานว่า ผู้บริโภคหลายคนมีภาวะสับสนในการตัดสินใจซื้อ และกว่า 89% ของคนไทยต้องการความเชื่อมั่นก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ แม้จะเป็นของทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ต้องเลือกสรรแบรนด์ที่มีคุณภาพดี น่าเชื่อถือ โดยคนไทยได้ค้นหาข้อความ “น่าเชื่อถือ” เพิ่มขึ้น 30% 

ยิ่งไปกว่านั้นมีการสำรวจว่าผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากจะเลือกตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยปัจจัยที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือที่แบรนด์มีต่อผู้บริโภค

  • รีวิวจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า ซึ่งเป็นรีวิวในทางบวกต่อแบรนด์
  • ชื่อเสียงของแบรนด์ แบรนด์เป็นที่รู้จัก
  • การรับประกันการคืนสินค้าหรือเงิน ซึ่งข้อความ “การขยายเวลารับประกัน” มีการค้นหาเพิ่มขึ้น 40%

คำค้นหาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคนึกถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์และคุณภาพของสินค้ามาเป็นอันดับต้นๆ


2. วิธีสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความน่าเชื่อถือในแบรนด์

เนื่องจากชื่อเสียงของแบรนด์ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าต้องการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้นมีวิธีการอย่างไรบ้างที่เราจะสามารถทำได้ เราได้นำ 3 วิธีมาฝากกัน ได้แก่ 

2.1 ชื่อแบรนด์เป็นที่จดจำ 

ชื่อแบรนด์เป็นสิ่งแรกที่แบรนด์จะใช้สื่อสารกับผู้บริโภคให้ได้เข้าใจเมื่อได้ยินชื่อแบรนด์ว่ามีความหมายสอดคล้องต่อสินค้าและแบรนด์อย่างไร เพื่อให้ง่ายต่อการเป็นที่รู้จักและที่จดจำ ยกตัวอย่างเช่น แชมพู Clear ที่เป็นคำสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความ และสื่อถึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน สื่อถึงการทำความสะอาดหนังศีรษะได้อย่างหมดจด

นอกจากนี้การมีสโลแกนประจำแบรนด์ก็อาจจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรด์ได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น สโลแกนของร้านสะดวกซื้อ 7-11 อย่าง “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา 7-11” 

ซึ่งเรามีบทความเกี่ยวกับ 3 เทคนิคสร้างแบรนด์ให้น่าจดจำ โดดเด่นกว่าใคร สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเต็มๆ กันได้เลย

2.2 สินค้าต้องมีคุณภาพ 

นี่เป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจในการสร้างแบรนด์ เพราะ ผลิตภัณฑ์ถือเป็นชื่อเสียงและหน้าตาของแบรนด์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ดังนั้นจะต้องได้คุณภาพและมาตรฐาน ก่อนส่งต่อถึงมือผู้บริโภค หากผู้บริโภคได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพไป จนเกิดการร้องเรียน และแชร์ข้อมูลต่อไปในอินเตอร์เน็ต ย่อมมีผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ แต่ในทางกลับกันถ้าผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพจนลูกค้าเกิดชื่นชอบและติดใจ และแชร์ข้อมูลที่ถือเป็นการรีวิวจากลูกค้าในด้านบวก อาจทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นๆ สนใจสินค้าและแบรนด์ ส่งผลให้เป็นที่รู้จักในทางที่ดีได้ด้วยเช่นกัน

2.3 วางแผนการตลาดให้เหมาะสมกับแบรนด์

2.3.1. วิเคราะห์สถานการณ์

เริ่มจากการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาส่งเสริมจุดแข็ง หาแนวทางปรับแก้จุดอ่อน และเตรียมรับมือหรือแก้ไขปรับปรุงโอกาสและอุปสรรคที่เป็นข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบต่าง ๆ เพื่อให้แบรนด์ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

2.3.2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

แบรนด์ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสม เพื่อช่วยในการวางแผนว่าจะทำการตลาดออกมาอย่างไร เช่น เพศ, อายุ, วิธีการดำเนินชีวิตและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการขายครีมลดริ้วรอย อาจตั้งกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้หญิง อายุประมาณ 30-40 ปี

2.3.3. ตั้งเป้าหมาย 

ในการวางแผนการตลาดควรตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลประกอบการ หากผลไม่เป็นอย่างที่ตั้งไว้จะหาแนวทางปรับปรุงอย่างไร เช่น หากต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก อาจจะลองตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มยอดผู้ติดตาม 100 คนบนช่องทาง Instagram ของแบรนด์ ภายในระยะเวลา 1 เดือน 

2.3.4. วิเคราะห์กลยุทธ์ของแบรนด์ 

วิธีการวิเคราะห์กลยุทธ์ของแบรนด์จะเกี่ยวข้องกับข้อข้างต้น เช่น หากเป้าหมาย คือ เพิ่มผู้ติดตาม 100 คนบน Instagram ใน 1 เดือน แบรนด์อาจจะทดลองใช้กลยุทธ์อย่างการลงโพสต์บน Instagram ให้ถี่ขึ้น เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย หรือจัดกิจกรรมแจก giveaway ให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น 

2.3.5. กำหนดงบประมาณทำการตลาด 

ในส่วนที่เป็นงบของการทำการตลาดคุณควรแยกออกมาจากงบส่วนอื่นๆ ไว้ใช้สำหรับทำการตลาดโดยเฉพาะ เช่น ทำการโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย และอาจมีงบสำหรับการติดต่อกับอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมทแบนด์และสินค้า ดังนั้นควรจัดสรรงบอย่างรอบคอบเพื่อช่วยให้การวางแผนการตลาดของคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

หรืออ่านวิธีวางแผนการตลาดอย่างไรดี สำหรับมือใหม่สร้างแบรนด์แบบเต็มๆ ได้เลยคลิกที่นี่


3. แนะนำโรงงานรับผลิตสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือ

เนื่องจากข้างต้นเราได้แนะนำ 3 วิธีสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความน่าเชื่อถือในแบรนด์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค หัวข้อนี้เราขอแนะนำโรงงาน OEM ที่รับผลิต รับสร้างแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณ สกินแคร์ เครื่องสำอาง เครื่องหอมอโรม่า ผลิตภัณฑ์สปาต่างๆ เรามีประสบการณ์ในการผลิตที่ยาวนาน และมาตรสากลรองรับ เช่น GMP, ISO,  HALAL และ GREEN INDUSTRY เป็นต้น

หากใครสนใจสร้างแบรนด์กับเราหรือดูรายระเอียดสินค้าที่เรารับผลิตเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเราที่นี่ MEDICOS เรามีสินค้าให้เลือกผลิตมากกว่า 200 รายการ พร้อมบริการจดแจ้งอย. หรือคลิกที่นี่เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของเราได้เลย 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สถานเอกอัครราชทูต ณ เฮลซิงกิ. (2562, 17 กันยายน). การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). https://bit.ly/3A6H2i9

ARII GROUP. (2563, 26 มกราคม). 5 เทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์. http://www.ariigroup.com/arii-magazine/5

FAH CHAWANTHAWAT. (2565, 12 มกราคม). Marketing Plan คู่มือวางแผนการตลาดอย่างง่าย ฉบับมือใหม่ก็ทำได้. Talkatalka. https://talkatalka.com/blog/marketing-plan/

Thaifranchisecenter. (2556, 7 สิงหาคม). กำหนดลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนทำการตลาด. https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=674

Think with Google. (2566, มกราคม). Year in Search: เจาะเทรนด์ผู้บริโภคและแนวทางสำหรับธุรกิจในปี 2023. https://bit.ly/41u7SgW

SMELeader. (2563, 5 สิงหาคม). วิธีการตั้งสโลแกนสินค้าให้ติดหู. https://www.smeleader.com/วิธีตั้งสโลแกนสินค้า/

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.