รักษาออฟฟิศซินโดรม

แจกวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง พร้อมวิธีเช็กอาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์

เมื่อการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ กลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมา ซึ่งอาการปวดออฟฟิศซินโดรมก็เป็นอาการยอดฮิตที่เหล่าพนักงานออฟฟิศ รวมถึงผู้ที่ทำงานนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ต้องประสบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในบทความนี้เราจึงขอแจกวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง พร้อมวิธีเช็กอาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์


สารบัญเนื้อหา



1. ทำความรู้จักออฟฟิศซินโดรม

ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบเกี่ยวกับวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้นด้วยตัวเองว่ามีวิธีการใดบ้าง เราควรทำความรู้จักโรคออฟฟิศซินโดรมกันก่อน

ออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดตึงกล้ามเนื้อจากใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ 

อาจเริ่มจากปวดจุดหนึ่ง แต่พอนานวันเข้าก็จะร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง หากทิ้งไว้นานๆ โดยไม่เปลี่ยนพฤติกรรม กว่าจะรู้ตัวก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ อาจระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้ ซึ่งอาการที่สามารถพบได้บ่อย เช่น

  • ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยมักจะปวดหลัง ปวดคอบ่าไหล่ เกิดจากการยืนหรือนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
  • ปวด ชาที่บริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ เนื่องจากเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ
  • นิ้วล็อค เนื่องจากใช้งานบริเวณนิ้วมือบ่อย เป็นประจำ เส้นเอ็นนิ้วมือเกิดการอักเสบ อาชีพแม่บ้านมักจะมีอาการนี้
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บบริเวณหัวไหล่ ข้อศอก เข่า เกิดจากการใช้งานอย่างรุนแรง
  • ตาแห้ง จากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์นานๆ เป็นประจำ
  • ปวดตา จากการจ้องหน้าจอเวลานาน โดยไม่พักสายตา
  • ปวดหัว อาจเกิดจากอาการปวดตาจนลามไปถึงหัว หรือจากอาการปวดตึงบ่า จนเลือดไหลไปเลี้ยงหัวได้ไม่สะดวก

2. อาการปวดจากออฟฟิศซินโรมแบบไหนที่ควรพบแพทย์

วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเองสามารถทำได้หากมีอาการเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งอาการปวดบางประเภทอาจพัฒนาจากออฟฟิศซินโดรมกลายเป็นอาการของโรคอื่นๆ ที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งควรรีบพบแพทย์ โดยสามารถเช็กได้หากมีอาการเหล่านี้

  • มีอาการปวดหลังยาวนานกว่า 2-4 สัปดาห์
  • เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะรู้สึกปวดลึก
  • มีอาการ ปวดหลังร้าวลงขา อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาจเป็นอาการของการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอว หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น กล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง และไม่สามารถควบคุมการเดินรวมถึงการขับถ่ายได้
  • มีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรง หรือชา อาจรุนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของการกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ

3. วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ไม่มีอาการเข้าข่ายอาการด้านบนที่ควรพบแพทย์ สามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเองได้ด้วยวิธีดังนี้

3.1 นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 

บีบนวดด้วยตัวเองบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาจใช้ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดควบคู่กับการนวด เช่น น้ำมันสมุนไพรแก้ปวด ครีมแก้ปวด หรือใช้แปะแผ่นแก้ปวด เจลประคบ หรือรับประทานยาแก้ปวด 

นอกจากนี้ MEDICOS รับผลิต ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวด เช่น 

3.1.1 น้ำมันสมุนไพร มีสรรพคุณช่วยแก้ปวดเมื่อย มีสูตรให้เลือกหลากหลาย ดังนี้

  • น้ำมันสูตรไพล มีส่วนประกอบหลักจากไพล และตัวยาอื่นๆ
  • น้ำมันพริก มีส่วนประกอบหลักจากพริก และตัวยาอื่นๆ บรรเทาอาการเจ็บเส้นเอ็น กระดูก
  • น้ำมันสูตรสมุนไพรในลูกประคบผสมผสานกลิ่นอโรมาเทอราพี และตัวยาอื่นๆ
  • น้ำมันสูตรมาตรฐาน มีส่วนประกอบสำคัญ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส, น้ำมันระกำ และตัวยาอื่นๆ

3.1.2 ครีมแก้ปวด มีสรรพคุณช่วยแก้ปวดเมื่อย มีสูตรให้เลือกหลากหลาย ดังนี้

  • ครีมแก้ปวดสูตรมาตรฐาน มีส่วนประกอบหลัก น้ำมันไพล, เถาเอ็นอ่อน, น้ำมันระกำ และตัวยาอื่นๆ
  • ครีมแก้ปวดสูตรไพล มีส่วนประกอบหลัก น้ำมันไพล และตัวยาอื่นๆ
  • ครีมแก้ปวดสูตรเย็น มีส่วนประกอบหลัก น้ำมันเปเปอร์มินท์, ยูคาลิปตัส, เมนทอล และตัวยาอื่นๆ
  • ครีมแก้ปวดสูตรร้อน มีส่วนประกอบหลัก น้ำมันระกำ, น้ำมันไพล และตัวยาอื่นๆ

3.2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน

  • ปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่ก้มหรือเงยหน้า ไม่ควรนั่งหรือยืนท่าเดิมเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ
  • ปรับอุปกรณ์ในออฟฟิศให้เหมาะกับการทำงาน เช่น เก้าอี้ไม่ชิดหรือห่างจากโต๊ะทำงานจนเกินไป หรือการจัดวางคอมพิวเตอร์ ควรปรับตำแหน่งให้พอดี ให้หน้าจออยู่ในระดับสายตา

3.3 ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมน้อยลง ซึ่งการออกกำลังกายมีหลากหลายประเภท สามารถเลือกได้ตามความชอบและความสะดวกของแต่ละคน เช่น

  • การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ การออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดี กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่น
  • การออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อ เช่น พิลาทิส จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดโอกาสบาดจ็บของกล้ามเนื้อ

3.4 พักขยับร่างกายให้บ่อย 

ควรพักขยับ ยืดเหยียดร่างกายทุก 1-2 ชั่วโมง ขณะพักควรลุกขึ้นขยับร่างกาย และยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไปจนเกิดอาการปวด เพราะอาการป่วยของโรคเหล่านี้เกิดจากการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ จึงควรเปลี่ยนท่า ยืน หรือเดินเพื่อขยับร่างกายให้บ่อย

เมื่อเราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม และวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมสำหรับผู้ที่มีอาการเบื้องต้นเพื่อป้องกันการเกิดอาการที่รุนแรงขึ้นจนเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กันไปแล้ว เราขอสรุปสั้นๆ ว่า “วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นวิธีที่ยั่งยืนที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น” 

สุดท้ายนี้สำหรับใครที่สนใจผลิตผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดที่มีส่วนผสมของสมุนไพรโดยโรงงานที่มีประสบการณ์และได้มาตรฐาน ขอแนะนำ MEDICOS เราเชี่ยวชาญด้านการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรกว่า 40 ปี มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น GMP,  ISO, HALAL, และ Green Industry เป็นต้น เรารับผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่แนะนำสูตรที่คุณต้องการไปจนถึงขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ เพียงคลิกที่นี่เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของเราได้เลย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

PHYATHAI. (2563, 1 เมษยน.). ปวดคอ ปวดหลัง อาจไม่ใช่แค่ออฟฟิศซินโดรม แต่เสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้น”. https://bit.ly/3EiN8OZ

นพ.ปรมินทร์ ชัยวิบูลย์ผล.  (2564, 11 มิถุนายน). ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อาการเรื้อรังที่ต้องรีบรักษา ก่อนจะบานปลาย. Praram9. https://bit.ly/3EhCDLT

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.