ใครที่กำลังสนใจจะทำแบรนด์น้ำหอมของตัวเองอยู่ล่ะก็ อย่าเพิ่งลงมือถ้ายังอ่านบทความนี้ไม่จบ! เพราะว่าบทความนี้เหมาะที่สุดสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจน้ำหอมแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง แถมในบทความจะแนะนำข้อควรรู้ที่คุณอาจไม่เคยรู้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
ทำแบรนด์น้ำหอมเป็นของตัวเองเริ่มต้นอย่างไร?
- วางแผนธุรกิจให้ครอบคลุม
- เลือกโรงงานรับผลิตน้ำหอมที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้
- เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้เกี่ยวกับการทำแบรนด์น้ำหอมเป็นของตัวเอง
1. วางแผนธุรกิจให้ครอบคลุม


ขั้นตอนแรกที่คุณจะสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจน้ำหอมอย่างมีประสิทธิภาพเลยก็คือ วางแผนธุรกิจให้ครอบคลุม ผู้ที่สนใจทำแบรนด์น้ำหอมของตัวเองจะต้องศึกษาตลาดของน้ำหอม พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาวางแผนการจัดการงบประมาณ ซึ่งน้ำหอมยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีให้กับสรรพสามิตแม้ยังไม่ได้เริ่มวางจำหน่าย
ดังนั้นหากคุณวางแผนธุรกิจน้ำหอม คุณควรคำนวณงบในการลงทุนในการลงทุน เช่น งบในการผลิต งบบรรจุภัณฑ์ งบการตลาด และงบสำหรับจ่ายภาษีให้กับสรรพสามิต เป็นต้น หากคุณไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นวางแผนธุรกิจยังไงดี อาจวางแผนตามขั้นตอนเบื้องต้นได้ดังนี้
1.1 Business Idea (แนวคิดการทำธุรกิจ)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแนวคิดในการทำธุรกิจ การวางภาพรวมและโครงสร้างทั้งหมดที่เกี่ยวกับแบรนด์ ความยาวประมาณ 1-2 หน้า ได้แก่
- ภาพรวมธุรกิจ เช่น ความเป็นมา ใจความสำคัญของแบรนด์
- โอกาสและการแข่งขัน เช่น โอกาสในการเติบโต และคู่แข่งของแบรนด์
- เป้าหมาย เช่น เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวที่แบรนด์ต้องการทำให้ได้
- กลยุทธ์ เช่น การเลือกใช้วิธีการที่จะให้แบรนด์บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
- แผนการลงทุน เช่น การวางแผนการเงิน และ ประเมินงบประมาณที่ต้องใช้
- ผลตอบแทน เช่น การประเมินหรือตั้งเป้าหมายผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็น กำไร ยอดขาย จำนวนการขยายสาขา
1.2 Business Background (ความเป็นมาของธุรกิจ)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางรายละเอียดความเป็นมาของแบรนด์ สินค้าและบริการ ลักษณะของแบรนด์ รวมถึงประวัติของเจ้าของแบรนด์ การเปลี่ยนแปลงที่อาจขึ้นในอนาคต และแนวทางในการพัฒนาแบรนด์
1.3 Business Analysis (การวิเคราะห์ธุรกิจ)
ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งมีหลายเทคนิค แต่ส่วนมากมักนิยมใช้ SWOT เพราะ เป็นการประเมินทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งสามารถใช้ได้กับธรุกิจทุกประเภท โดย SWOT นั้นสามารถแบ่งส่วนการวิเคราะห์ธุรกิจออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
- Strengths – จุดแข็งของแบรนด์ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้
- Weakness – จุดอ่อนของแบรนด์ที่ต้องแก้ไข
- Opportunity – โอกาสที่สามารถนำมาต่อยอดให้แบรนด์ได้
- Threat – ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อแบรนด์
1.4 Marketing Plan (วางแผนการตลาด)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการตลาดให้กับแบรนด์ ซึ่งเราขอแนะนำ 4E ที่ถูกพัฒนามาจาก 4P และ 4C โดยจะเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ได้แก่
- Experience (การสร้างประสบการณ์) เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สวยงาม มีคุณภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจในการใส่ใจของแบรนด์คุณ
- Exchange (ความคุ้มค่า) เช่น ผลิตผลิตภัณฑ์ให้คุ้มค่ากับราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่าย ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และบริการ
- Everywhere (การเข้าถึงผู้บริโภค) เช่น พัฒนาช่องทางการขายและช่องทางการติดต่อ ทั้งด้านออนไลน์และออฟไลน์ ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ทุกที เน้นความสะดวก
- Evangelism (การสร้างความสัมพันธ์) เช่น การสร้างฐานลูกค้าประจำ Brand Loyalty เพื่อเกิดการบอกต่อปากต่อปาก โดยการดูแล ควบคุมคุณภาพทั้งในด้านการดูแลลูกค้า การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการบริการให้ดีอยู่เสมอ
1.5 Operation Plan (แผนการปฏิบัติงาน)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการผลิตสินค้า เช่น การหาสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน การควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพ ระยะเวลาในการผลิต เป็นต้น
1.6 Financial Plan (แผนการเงิน)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการเงิน งบประมาณต่างๆ เช่น งบประมาณการผลิต งบบรรจุภัณฑ์ งบการตลาด งบการเสียภาษี ค่าจ้างคน ค่าทำเลพื้นที่วางขาย เพื่อให้คุณทราบถึงค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และสำรวจได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้สอดคล้องกับเงินทุนที่คุณมีหรือไม่ ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยคุณควบคุมงบประมาณในการลงทุน และให้คุณบริหารจัดการงบประมาณต่างๆ ได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อแบรนด์คุณได้
1.7 Emergency Plan (แผนฉุกเฉิน)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับแบรนด์ เช่น ปัญหาลูกค้าฟ้องร้อง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค เป็นต้น
2. เลือกโรงงานรับผลิตน้ำหอมที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้


เมื่อคุณวางแผนธุรกิจเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนในการทำแบรนด์น้ำหอมของตัวเองที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ การเลือกโรงงานรับผลิตน้ำหอมที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะส่งต่อไปถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นสินค้าที่มีคุณภาพควรผลิตจากงานที่มีมาตรฐานและเชี่ยวชาญ ซึ่ง MEDICOS เป็นโรงงานรับผลิตน้ำหอมที่ตอบโจทย์คุณอย่างแน่นอน
หากคุณผลิตน้ำหอมกับ MEDICOS เรามีขั้นต่ำในการผลิต 100 Kg. ต่อสูตร ต่อกลิ่น แต่หากน้ำหอมนั้นใช้วัตถุดิบสกัดยาก อาจจะต้องผลิตมากกว่า 100 Kg. และหากต้องการกลิ่นใหม่ที่เบลนด์ขึ้นใหม่ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูตรเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
เพียงแค่คุณแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสูตร กลิ่น เนื้อสัมผัส และอื่น ๆ อีกมากมายให้ละเอียด ยิ่งรายละเอียดชัดเจนมากเท่าไหร่ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการมากเท่านั้น ที่สำคัญเรายังมีบบริการจดแจ้งเครื่องสำอางกับ อย. ด้วยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้คุณสามารถเข้ามาพูดคุย สอบถาม หรือปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนธุรกิจให้รอบคอบก่อนสั่งผลิตสินค้าก็ได้เช่นกัน
3. เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้เกี่ยวกับการทำแบรนด์น้ำหอมเป็นของตัวเอง


3.1 การจดทะเบียนเครื่องสำอางกับอย.
เนื่องจากข้อมูลตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ (มาตรา ๑๔) ระบุว่าผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได
ดังนั้นจึงสรุปง่ายๆว่าน้ำหอมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องขอเลขที่จดแจ้งกับทางอย. ก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่าย
3.2 จ่ายภาษีน้ำหอมแม้ยังไม่ได้จำหน่าย
การจ่ายภาษีน้ำหอมแม้ยังไม่ได้วางจำหน่ายเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการทำแบรนด์น้ำหอมของตัวเอง โดยน้ำหอมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาคือ การเสียภาษีสรรพสามิต เนื่องจากน้ำหอมจัดอยู่ในประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย ที่หากไม่มีใช้ก็ไม่กระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับสินค้าพวกบุหรี่ สุรา เป็นต้น


เมื่อคุณได้ทราบข้อมูลสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจทำแบรนด์น้ำหอมของตัวเองกันไปแล้ว คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผน จัดการงบประมาณต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเดินทางไปอย่างราบรื่นมากที่สุด หากมีคำถามที่สงสัยหรือต้องการผลิตน้ำหอมกับ MEDICOS สามารถคลิกที่นี่เพื่อติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาคุณทุกขั้นตอน พร้อมมีบริการจดแจ้งเครื่องสำอางกับทางอย.ด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
MyShop Team. (2564, 24 มิถุนายน). Step การเขียนแผนธุรกิจง่ายๆ สำหรับมือใหม่ให้ธุรกิจยั่งยืน. MyShop. https://lineshoppingseller.com/best-selling-technique/sustainable-business-plan-101
Thairath. (2566, 18 กันยายน). วิธีถอด VAT 7% คำนวณง่ายๆ ไม่กี่สเตป ด้วยเครื่องคิดเลข. https://www.thairath.co.th/lifestyle/tech/2725466
Wisesight. (2565, 14 พฤศจิกายน). 4P 4C 4E คืออะไร ทำความรู้จักกับ Marketing Mix ถึงวิธีคิดและการนำไปใช้. https://wisesight.com/th/4p-4c-4e-marketing-mix/คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง. (ม.ป.ป.). คลินิกภาษีน้ำหอม. https://taxclinic.mof.go.th/สินค้า-16-คลินิกภาษีน้ำหอม.html
ภญ.ปริณดา เตชะศิรินุกูล, ภญ.พิชญานิน อรรธนิศาสุข และภญ.ปุณณวีย์ หวังศุภกิจโกศล. (2559, สิงหาคม). คู่มือจดแจ้งเครื่องสำอางระบบอัตโนมัติ. กระทรวงสาธารณสุข. https://cms-media.fda.moph.go.th/461117737616416768/2023/04/HAdSuOSFOws1rHH7yAcaFATd.pdf